วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


   Neric-Club.Com ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
         การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ สัมผัส สืบค้น จนได้รับคำตอบด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
         คนเรานั้นเกิดการเรียนรู้ได้จากหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการเลียนแบบ การได้ลงมือทก การแก้ปัญหา การอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่นครอบครัวที่ต้องไปอยู่ต่างประเทศโดยที่ลูกๆไม่สามารถพูดภาษา พื้นเมืองของประเทศนั้นได้ หรือ ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเด็ก ไปอยู่ได้ซักพัก เด็กคนนี้นสามารถที่จะพูดภาษาพื้นเมืองได้ โดยที่พ่อ หรือแม่ยังพูดไม่ได้ เพราะเด็กเกิดการเรียนรู้ จากสิ่งแวดล้อมที่เค้าไปอยู่ จากประสบการณ์ตรง จากการปฏิบัติ ซึ่ง สิ่งเหล่านนี้ เค้าจะจำได้ เข้าใจ ติดตัวเข้าไปตลอด
        นอกจากนั้นพรสวรรค์ของผู้เรียนมีผลต่อการเรียนรู้เช่นเดียวกัน จะเห็นว่าเด็กในห้องเดียวกันเรียนแกะสลักผลไม้ แต่ละคนจะได้ผลงานที่แตกต่างกัน บางคนสวย ประณีต ละเอียด แต่บางคนไม่เป็นรูปร่าง ทำให้ความสามารถในการเรียนของเค้าด้อย ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ด้วย

          สยุมพร  ศรีมุงคุณ ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) นี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
          เลิศชาย  ปานมุข ได้กล่าวว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 -6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
          - ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน
          - ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
          - กลุ่มความรู้ (
Cognitive)
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน ของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก
2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
           เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (
Pavlov) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
กลุ่มความรู้ (
Cognitive)
          นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (
Perceptual experience)ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory
          ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี
4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
           ลำดับขั้นของการเรียนรู้ ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ
3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ   
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ
2. ความเข้าใจ (understanding) ก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน
         
โดยสรุปทฤษฎีการเรียนรู้นี้ สามารถช่วยให้เกิดความคิด ดังเช่น แว่นตาที่ช่วยเราปรับให้เกิดความชัดเจนในประสบการณ์ทางการศึกษา การวางเงื่อนไขหรือการสร้างไว้ในคำแนะนำเพียงหนึ่งเดียว น่าจะไม่เพียงพอ  ซึ่งควรจะต้องใช้แว่นตาทั้งใกล้และไกล ปรับระดับความชัดเจนและหลอมรวมทฤษฎีเหล่านี้ในการคิดเชิงสร้างสรรค์ผลงาน /ภาระงานที่ต้องการด้วยสายตาที่มองเห็นถึงความแตกต่างเพียงเล็กน้อยก็ตาม

สรุป     ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) คือ
การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
         การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ สัมผัส สืบค้น จนได้รับคำตอบด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
         คนเรานั้นเกิดการเรียนรู้ได้จากหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการเลียนแบบ การได้ลงมือทก การแก้ปัญหา การอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่นครอบครัวที่ต้องไปอยู่ต่างประเทศโดยที่ลูกๆไม่สามารถพูดภาษา พื้นเมืองของประเทศนั้นได้ หรือ ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเด็ก ไปอยู่ได้ซักพัก เด็กคนนี้นสามารถที่จะพูดภาษาพื้นเมืองได้ โดยที่พ่อ หรือแม่ยังพูดไม่ได้ เพราะเด็กเกิดการเรียนรู้ จากสิ่งแวดล้อมที่เค้าไปอยู่ จากประสบการณ์ตรง จากการปฏิบัติ ซึ่ง สิ่งเหล่านนี้ เค้าจะจำได้ เข้าใจ ติดตัวเข้าไปตลอด
        นอกจากนั้นพรสวรรค์ของผู้เรียนมีผลต่อการเรียนรู้เช่นเดียวกัน จะเห็นว่าเด็กในห้องเดียวกันเรียนแกะสลักผลไม้ แต่ละคนจะได้ผลงานที่แตกต่างกัน บางคนสวย ประณีต ละเอียด แต่บางคนไม่เป็นรูปร่าง ทำให้ความสามารถในการเรียนของเค้าด้อย ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ นอกจากนั้นแล้วทฤษฎีการเรียนรู้ยังสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
          - ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐาน
          - ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
          - กลุ่มความรู้ (
Cognitive)

ที่มา :
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561
สยุมพร  ศรีมุงคุณ. https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561.
เลิศชาย ปานมุข. (2558). http://www.lertchaimaster.com/forum/index.php?topic=36.0. [ออนไลน์]   
       เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

              http://benjamas22.212cafe.com ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคย...