วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)

ทิศนา แขมมณี(2552) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้เกม  (Game)  สรุปได้ดังนี้
วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเองทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง
องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวิธีสอน
- มีผู้สอนและผู้เรียน
- มีเกมและกติกาการเล่น
- มีการเล่นเกมตามกติกา
- มีการอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่น วิธีการเล่น และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังการเล่น
- มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนหรือกระบวนการ
1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม
 ข้อดี
- Laughing เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความสุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
- Innocent เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
- Wink เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัด
- Kiss เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก
- Cool เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกมบางเกมต้องซื้อหามาโดยเฉพาะเกมจำลองสถานการณ์บางเกมมีราคาสูงมาก
- Money Mouth เป็นวิธีสอนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม จึงจะสามารถสร้างได้
- Foot in Mouth เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
- Embarassed เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
“ม.ปริญญา  ปริญญาพล” ได้ทำการศึกษาเรื่อง การสอนโดยใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะวิชา Biology English ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า นักเรียนสามารถจดจำคำศัพท์ และเข้าใจภาษาในแบบทดสอบและข้อสอบได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 และจากการสังเกตพฤติกรรม พบว่านักเรียนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สนุก หัวเราะ และมีความสุข รวมถึงชอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบนี้ นักเรียนมีความรู้สามารถจดจำคำศัพท์และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การทำกิจกรรม แบบทดสอบ และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น จากเดิมที่ นักเรียนไม่สามารถเข้าใจ และจดจำศัพท์ไม่ได้ และการนำไปใช้ไม่ถูกต้อง
“พิมพ์พร  ไชยฤกษ์” ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อย ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหารของนักเรียนโดยใช้เกมคณิตศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อย ก่อนเรียน และหลังเรียน พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลงัเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่า
การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมกลุ่มย่อยสามารถช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น  
“ยุพา  ทองโปร่ง” ได้ทาํการศึกษา เรื่อง การใช้เกมคำศัพท์ประกอบการเรียนการสอนที่มีทัศนคติ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน บ้านพุน้อย
ผลของการศึกษาพบว่า ทัศนคติของนักเรียนต่อเกมคำศัพท์ประกอบการสอน ด้านความคิด ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วย ด้านความรู้สึก ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และด้านแนวโน้มการแสดงพฤติกรรม ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ ในระดับประจำ หลังจากการการใช้เกมคำศัพท์ประกอบการสอนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียน คิด เป็นร้อยละ
35.63 และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านพุน้อย หลังได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมเกมคำศัพท์ประกอบการสอน มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษษสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 


http://innovation.kpru.ac.th ได้กล่าวไว้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมในการ
ปฏิรูปการเรียนรู้นั้น ผู้สอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน และมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้
หมดทุกคนตามประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล
          นักการศึกษาโฮวาร์ด การ์ดเนอร์  ได้กล่าวว่าทุกคนมีความสามารถที่หลากหลาย
(
Multiple intelligences) ใน 8 ด้าน คือ  
1.ด้านภาษา  
2.ด้านการใช้เหตุผล  
3.ด้านมิติพันธ์  
4.ด้านร่างกาย  
5.ด้านการเคลื่อนไหว  
6.ด้านดนตรี  
7.ด้านมนุษย์สัมพันธ์ 
8.ด้านความเข้าใจในตนเอง 
9.ด้านความเข้าใจในธรรมชาติ 

ความหมายการสอนโดยใช้เกม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม  คือ  เกมการศึกษา  เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้  “Play to learning”  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม เรียนไปด้วย และก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เทคนิคการสอนโดยใช้เกม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  มีดังนี้
1.  การเลือกและนำเสนอเกม ผู้สอนต้องสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของการสอน  ถ้านำเกมของผู้อื่นที่สร้างต้องนำมาปรับดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ซึ่งเกมการศึกษามี 3 ประเภท  คือ
1.1  เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม
1.2  เกมแบบแข่งขันมีผู้แพ้ ผู้ชนะ เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนาน
1.3  เกมจำลองสถานการณ์ เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง สถานการณ์จริง เกมแบบนี้มี 2 ลักษณะ                   คือ
1.3.1  การจำลองความเป็นจริงลงมาเล่นในกระดานหรือบอร์ด เช่น เกมเศรษฐี เกมมลภาวะ
เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นต้น
1.3.2  การจำลองสถานการณ์และบทบาทให้เหมือนความเป็นจริง โดยผู้เล่นจะต้องลงไปเล่นจริง

พงษ์เทพ บุญศรีโรจน์(2553) การเล่นทำให้เด็กได้ฝึกความสามารถในการรับรู้และเสริมสร้างความคิดหลายๆแง่ เช่น การรับรู้ concept ใหม่ๆ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนฝึกความจำ ทำให้เด็กได้มีโอกาสสร้าง
สมประสบการณ์ให้กับตนเองเพื่อเรียนรู้และรับรู้สิ่งแวดล้อมและสิ่งซึ่งไม่มีใครสอบเขาได้ การเล่นเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัว และเปลี่ยนแปลงความคิด ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสตอบสนองความต้องการของตนเอง
นำเด็กไปสู่การค้นพบ ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกอิสระ สนุกสนานเพลิดเพลินและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมซ้ำได้เมื่อเกิดความพอใจและสนใจ โดยไม่ต้องมีสิ่งอื่นมากระตุ้นไม่ว่าการให้รางวัลหรือการลงโทษ เด็กอาจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการแสดงความก้าวหน้าในระดับสติปัญญาและความคิดของเด็ก
          จะเห็นได้ว่าการเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนเรื่องใดปนไปกับการเล่นหรือจัดการเรียนให้เสมือนกับการเล่นได้ก็จะช่วยให้การเรียนรู้ในเรื่องนั้น ประสบผลสำเร็จอย่างมาก
          การละเล่นมีมากมายหลายประเภท เกมนับว่าเป็นการละเล่นประเภทหนึ่งที่มีกติการัดกุมและมักจะมีการแข่งขันกันระหว่างผู้เล่นด้วย ปัจจุบันมีผู้พัฒนาเกมประกอบการสอนขึ้นมามากโดยถือว่าเกมจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นสื่อการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนมากขึ้น
          เกมประกอบการสอน หมายถึง การนำเอาจุดประสงค์ใด ๆ ของการเรียนรู้ตามหลักสูตรมาประกอบขึ้นเป็นการเล่น ผู้เล่นจะเล่นเกมไปตามกติกาที่กำหนด ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ในเนื้อหามามีส่วนร่วมในการเล่นด้วย
          เกมมีปลายประเภท อาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ กับเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ
- เกมที่มีวัสดุประกอบที่นิยมนำมาเป็นเกมประกอบการสอนได้แก่ เกมไพ่ เกมบิงโก เกมอักษรไขว้ เกมงูตกบันได  
 
เกมกระดานต่าง ๆ
- เกมที่ไม่มีวัสดุประกอบได้แก่ เกมทายปัญหา เกมใบ้คำ เกมสถานการณ์จำลองต่างๆ ฯลฯ
          คุณค่าของเกมที่มีต่อการเรียนการสอน
         
เกมเป็นสื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง สามารถช่วยให้ผู้เล่นประสบผลสัมฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา แม้ว่าเกมจะไม่ดีไปกว่าการสอนแบบตั้งเดิมเมื่อใช้สอนเนื้อหาพื้นฐานก็จริง แต่สำหรับความสามารถด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่าแล้วเกมจะช่วยได้มาก
          เกมส่วนใหญ่ส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับผู้อื่นและเจตคติทางด้านความกระตือรืนล้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น นอกจากนั้นเกมจะช่วยให้ผู้เล่นรู้จักแก้ปัญหาหลายๆ แนวทาง หลายคนเชื่อมั่นในการใช้เกมจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาเกือบทั้งหมด
        ข้อได้เปรียบสูงสุดของเกมยิ่งกว่าวิธีสอนอื่นใดคือความสนุก ทำให้นักเรียนได้เข้ามามีส่วนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดีนัก และเชื่อว่าถ้ามีการแข่งขันด้วยนักเรียนจะยิ่งทุ่มเทจิตใจในการเล่นมากยิ่งขึ้น
         
เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ ด้านซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จัดบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเหล่านั้นเข้าด้วยกัน

สรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม เป็นกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ ซึ่ง การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  มีดังนี้     
1.  การเลือกและนำเสนอเกม ผู้สอนต้องสร้างขึ้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระของการสอน  ถ้านำเกมของผู้อื่นที่สร้างต้องนำมาปรับดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ซึ่งเกมการศึกษามี 3 ประเภท  คือ
1.1  เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม
1.2  เกมแบบแข่งขันมีผู้แพ้ ผู้ชนะ เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนาน
1.3  เกมจำลองสถานการณ์ เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง สถานการณ์จริง เกมแบบนี้มี 2 ลักษณะ                   คือ
1.3.1  การจำลองความเป็นจริงลงมาเล่นในกระดานหรือบอร์ด เช่น เกมเศรษฐี เกมมลภาวะ
เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นต้น
1.3.2  การจำลองสถานการณ์และบทบาทให้เหมือนความเป็นจริง โดยผู้เล่นจะต้องลงไปเล่นจริง
 

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม
 ข้อดี
- Laughing เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความสุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
- Innocent เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
- Wink เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัด
- Kiss เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก
- Cool เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกมบางเกมต้องซื้อหามาโดยเฉพาะเกมจำลองสถานการณ์บางเกมมีราคาสูงมาก
- Money Mouth เป็นวิธีสอนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม จึงจะสามารถสร้างได้
- Foot in Mouth เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
- Embarassed เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
ที่มา :
ทิศนา แขมมณี. (2552). https://webcache.googleusercontent.com. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 
      2561
http://innovation.kpru.ac.th. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2561
พงษ์เทพ บุญศรีโรจน์. (2553). https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/paper/game. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
      28 กรกฎาคม 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

              http://benjamas22.212cafe.com ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคย...